วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โครงงานสะเต็ม น้ำยาเช็ดกระจกจากอัญชัน มะกรูด และใบเตย



โครงงานสะเต็ม

เรื่อง  น้ำยาเช็ดกระจกจากอัญชัน  มะกรูด  และใบเตย


จัดทำโดย

1.ด.ช.วรรณธวัช  สิริพันธ์  ม.2/1  เลขที่8
2.ด.ญ.ณัฐวิภา   เชื้อขำ  ม.2/1  เลขที่21
3.ด.ญ.นันทิยา  สกุลผอม  ม.2/1  เลขที่30
4.ด.ญ.เบญญาภา  เชื้อสาย  ม.2/1 เลขที่33
5.ด.ญ.ปณัดดา  อ่ำโนนไพร  ม.2/1  เลขที่34

คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน 

1.คุณครูนิรมล  ยุระพันธุ์
2.คุณครูละม้าย  ชูสุวรรณ
3.คุณครูจุฑามาศ  หอมจันทร์
4.นางสาวพิมพกานต์  ถิ่นแก้ว  


โรงเรียนวรนารีเฉลิม  จังหวัดสงขลา

ภาคเรียนที่ 1      ปีการศึกษา 2560





บทที่1
บทนำ
1.แนวคิดที่มาและความสำคัญ

                กระจกถือเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในครัวเรือน  ที่เห็นได้จากกิจวัตรตอนเช้าเป็นต้นไป  และยังมีกระจกใสที่ประดับอยู่บนหน้าต่างของครัวเรือน  หากกระจกใสเหล่านั้นมัวหมองจะทำให้ภาพลักษณ์รวมของบ้านดูไม่ดีไปเลย  เราจึงต้องทำความสะอาดกระจกที่เราใช้อยู่ทุกวัน  แต่มิใช่แค่การทำความสะอาดอย่างเดียวเราต้องหาวิธีที่รักษาสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดด้วย  ในครั้งนี้เราขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดกระจกจากธรรมชาติ  ซึ่งสามารถลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้  เพราะในน้ำยาเช็ดกระจกที่ใช้กันในปัจจุบันมีราคาแพงและมีสารเคมี ซึ่งบิลทิล ,เซลโลโซล  และแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์  ล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีที่อันตรายต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก  เราจึงหาวิธีทำความสะอาดกระจกที่ไร้สารเคมีตกค้าง  โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น  อาทิเช่น  ดอกอัญชัน  หรือใบเตย  มาผสมกับมะกรูดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและสามารถขจัดคราบสกปรกบนกระจกได้

2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน

                2.1เพื่อศึกษาผลการทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน  ใบเตย  และมะกรูด ไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจก
                2.2เพื่อนำพืชที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
                2.3เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                2.4เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ทรัพยากรธรมมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างรู้คุณค่า


3.ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน

                3.1กระจกที่ใช้ทำการทดลองเป็นกระจะใสและกระจกเงาที่มี่ความสกปรก
                3.2ใช้ดอกอัญชัน  ใบเตย  และมะกรูดที่หาได้ในท้องถิ่นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

4.ประโยชน์ที่ได้รับ

                4.1ได้น้ำหมักชีวภาพจากธรรมชาติที่สามารถทำความสะอาดกระจกได้อย่างสะอาด
                4.2ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                4.3ได้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติซึ่งไร้สารเคมี
                4.4สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  การประหยัดค่าใช้จ่าย  และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างรู้คุณค่า



บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                ในการศึกษาเรื่องการทำน้ำยาเช็ดกระจกจากอัญชัน  มะกรูด  และใบเตย  ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆ  จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
                2.1อัญชัน
อัญชัน(ชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatea L.)  เป็นไม้เถา  ลำต้นมีขนนุ่ม  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้  ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน  มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน(เชียงใหม่)  และเอื้องชัน,เองชัญ(เหนือ) 
2.1.1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน  ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม   ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด
2.1.2สรรพคุณ
-ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น [3]
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา


                2.2มะกรูด
มะกรูด  เป็นพืชในตระกูลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด
2.2.1ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์    เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  สูง 2-8 เมตรเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล  มีหนามยาวเล็กน้อยแหลม อยู่ตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่  โคนผลเรียวเป็นจุก  ผิวขรุขระ พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว  ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดกลมรี สีขาว
2.2.2สรรพคุณทางยา    รากกระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ใบมีน้ำมันหอมระเหย ผลและน้ำคั้นจากผลใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด ผิวจากผลปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น เป็นยาบำรุงหัวใจ
2.2.3การนำมาใช้ประโยชน์
-ใช้เป็นยาหรืส่วนผสมต่างๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร
-น้ำมะกรูดใช้ดองยา และบำรุงโลหิต
-ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้ผิวของผล  เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด
-ใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิด เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด
-น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลา
-คนโบราณนิยมสระผมด้วยมะกรูด  เพราะทำให้ผมดำเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ
                2.3เตยหอม
2.3.1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เตยหอม เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีอ่อน ค่อนข้างนิ่ม เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันขอมลูกเขย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอฟอฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
2.3.2การใช้ประโยชน์    ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhwayในศรีลังกาเรียก rampe [2] ในเวียดนามเรียก lá dใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า  โดยเฉพาะข้าวและขนม  การใช้มีทั้งนำไปขยำกับกะทิ    ใส่ในภาชนะหุงต้ม  ไก่ใบเตยจะเป็นการนำใบเตยมาห่อไก่แล้วนำไปทอด ใช้แต่งกลิ่นเค้กใบเตย  และ     ของหวานอื่นๆ  ในฟิลิปปินส์ใช้เตยหอมแต่งกลิ่นในสลัดที่เรียก  buko pandan  กลิ่นหอมของใบเตยเกิดสารเคมีที่เรียก 2-acetyl-1-pyrroline  ซึ่งเป็นกลิ่นแบบเดียวกับที่พบในขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิและ        ดอกชมนาด  มีสารสกัดจากใบเตยขาย ซึ่งมักจะแต่งสีเขียว  ใบใช้ไล่แมลงสาบได้




บทที่3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.1วัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

-ดอกอัญชัน/ใบเตย          300กรัม
-มะกรูด                           2ผล
-น้ำตาลทราย                   3ขีด
-เบคกิ้งโซดา                   1ช้อนโต๊ะ
-หม้อ
-มีด
-เขียง
-ขวดสำหรับหมัก
-ขวดสเปรย์

                3.2ภาพร่างในการพัฒนาชิ้นงาน




3.3ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ

3.3.1น้ำหมักจากมะกรูดและอัญชัน

 -ฝานมะกรูด  เอาเฉพาะผิวมะกรูดใส่ลงในหม้อต้มดอกอัญชัน  ต้มต่อประมาณ10นาทีดับไฟ





-ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง  จนมีอุณหภูมิ60องศาเซลเซียส  ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน  



-เทใส่โหลสำหรับหมัก  ปิดฝา  พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้  ทิ้งไว้ประมาณ30วัน

-กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้  เอากากออก(นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)

-นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์  และเติมเบคกิ้งโซดาลงไป

               



3.3.2น้ำหมักจากมะกรูดและใบเตย

 -ฝานมะกรูด  เอาเฉพาะผิวมะกรูดใส่ลงในหม้อต้มใบเตย  ต้มต่อประมาณ10นาทีดับไฟ



-ปล่อยให้น้ำใบเตยเย็นลง  จนมีอุณหภูมิ60องศาเซลเซียส  ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน  

 




-เทใส่โหลสำหรับหมัก  ปิดฝา  พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้  ทิ้งไว้ประมาณ30วัน

-กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้  เอากากออก(นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)

-นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์  และเติมเบคกิ้งโซดาลงไป

 






บทที่4
ผลการดำเนินงาน

              4.1ผลการดำเนินงาน
         ตอนที่ 1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน ผลเป็นดังนี้
เมื่อยังไม่กรอง ได้น้ำหมักที่มีสีม่วงเข้ม  มีแก๊สเล็กน้อย  มีกลิ่นออกเปรี้ยว  มีดอกอัญชันที่ลอยอยู่
         ตอนที่ 2. หาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของน้ำหมักกับน้ำยาเช็ดกระจก  ผลเป็นดังนี้


วัสดุทดลอง
จำนวนวัน
ระยะเวลา 5 นาที
ระยะเวลา 10นาที
กระจกเงา
วันที่ 1
ใส สะอาด ไม่มีคราบ
ใส สะอาด ไม่มีคราบ เงาวาว
วันที่2
ใสสะอาด มีความเงาวาว
ใส สะอาด ไม่มีคราบ
มีความเงาวาวมาก


            4.2การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระ
                กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์    การนำสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติมาใช้แทนสารเคมีในชีวิตประจำวัน  และความรู้เรื่องกรด-เบส
                กลุ่มสาระคณิตศาสตร์    การวางแผนการใช้จ่ายเงิน  อัตรส่วนที่ใช้ในการทำน้ำยาเช็ดกระจก
                กลุ่มสาระภาษาไทย    การใช้คำในการทำรายงาน  และการนำเสนอ
                กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม    การมีคุณธรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
                กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา    การรใช้ผลิตภุณฑ์ที่ไม่มีมีสารเคมีไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย
                กลุ่มสาระศิลปะ    การเลือกบรรจุภัณฑ์
   กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี    การใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล  และการทำรายงาน
   กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ    การอ่าน  นำเสนอข้อมูลภาษาอังกฤษ
   กลุ่มสาระกิจกรรมแนะแนว    เป็นแนวทางในการสร้างเสริมอาชีพ
        
       
  
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

                5.1สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
จากผลทดลองตอนที่ 1
เมื่อยังไม่กรอง น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันสีม่วงเข็ม มีแก๊สเล็กน้อย มีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย มีดอกอัญชันสีซีดลอยอยู่ด้านบนและมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน การที่น้ำหมักชีวภาพมีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อยและฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน  แสดงว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้น สามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานได้ ถ้าไม่ฝ้าสีขาวลอยอยู่ด้านบนและมีกลิ่นเห็นแสดงว่าน้ำหมักชีวภาพเสีย ใช้ไม่ได้
สรุปได้ว่า น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันที่คณะผู้จัดทำขึ้นนั้นมาใช้ได้
ผลการทดลองตอนที่ 2
                เมื่อน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ทำความสะอาดกระจกเงา ผลปรากฏว่า กระจกเงา มีความเงาวาว ไม่มีคราบสกปรกเหลืออยู่นอกจากนั้นน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดยังมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ รวมทั้งยุงอีกด้วย
                เมื่อหาประสิทธิภาพ  การทำความสะอาดขิงน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับน้ำยาเช็ดกระจกเงาสรุปได้ว่าไม่แตกต่างกัน

                5.2ปัญหาและอุปสรรค
การเติมน้ำตาลทรายเกินอัตราส่วนจะต้องใช้ระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น และจะทำให้น้ำหมักชีวภาพที่ได้เหนียวติดกระจกไม่สามารถใช้งานได้

5.3ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
-นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ทำปุ๋ย บำบัดน้ำเสีย แก้ไข ท่อตัน กำจัดกลิ่น ล้างห้องน้ำ เป็นต้น
-นำพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ชนิดอื่น ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นน้ำหมัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โฆษณา

  Aspire E การประมวลผลในแต่ละวันที่ดียิ่งขึ้น รูปลักษณ์ที่สวยงาม สีสันสดใสอันหลากหลายและลวดลายโลหะอันเลิศหรู ช่วยส่งมอบรูปลักษณ์ที่...